กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน
กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย สะท้อนถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจในการสร้างสมดุลของการเติบโตทางธุรกิจอย่างมั่นคง โดยคำนึงถึงอิทธิพลและผลกระทบที่เกิดจากการตัดสินใจและการลงมือปฏิบัติของธนาคารที่อาจส่งผลต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของธนาคารและสิ่งแวดล้อม
หลักการในการดำเนินงานด้านความยั่งยืน
แนวทางสู่ความยั่งยืนของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ตั้งอยู่บนหลักการห้าประการที่ทำหน้าที่เสมือนเข็มทิศนำทางในการจัดการกับความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญและโอกาสต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อลูกค้า พนักงาน นักลงทุน ผู้ผลิตและจัดหาสินค้า รวมถึงชุมชนที่เราร่วมงานด้วย เราเชื่อว่าเรามีหน้าที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในระยะยาว อีกทั้งยังตระหนักดีว่าธรรมาภิบาลที่ดีนั้นเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อให้แนวปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนหยั่งรากลึก แนวทางที่แสดงให้เห็นถึงการแสดงความรับผิดชอบในระยะยาวนี้จึงนับเป็นหัวใจสำคัญในทุกกิจกรรมและกลยุทธ์ทางธุรกิจของเรา
สานสัมพันธ์กับลูกค้าเชิงรุกเพื่อส่งอิทธิพลต่อแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืนเพื่อความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว
นำแผนงานด้านความยั่งยืนมาปฏิบัติใช้เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล รวมถึงโอกาสต่างๆ อย่างสมเหตสมผลและสอดคล้องกับความเป็นจริงของตลาดและการแข่งขัน
กำหนดแนวทางสู่ความยั่งยืนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาลของรัฐบาลในตลาดหลักๆ ของธนาคาร
กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน
กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย สะท้อนถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจในการสร้างสมดุลของการเติบโตทางธุรกิจอย่างมั่นคง โดยคำนึงถึงอิทธิพลและผลกระทบที่เกิดจากการตัดสินใจและการลงมือปฏิบัติของธนาคารที่อาจส่งผลต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของธนาคารและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกัน กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนนี้ยังทำให้เราคงไว้ซึ่งความสำคัญทางเศรษฐกิจ ผ่านการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลอย่างสมเหตุสมผลและสอดคล้องไปกับความเป็นจริงของตลาด
เพราะเราให้ความสำคัญต่อการสร้างคุณค่าด้านความยั่งยืนสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายของธนาคาร เราจึงกำหนดให้กลยุทธ์ทางธุรกิจในระยะยาวของเราเป็นไปในทิศทางเดียวกับผลประโยชน์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเหล่านั้น เราเชื่อในการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ตอบสนองต่อความต้องการในปัจจุบัน โดยไม่ส่งผลต่อขีดความสามารถของคนรุ่นต่อไปในการตอบสนองต่อความต้องการของพวกเขาเช่นกัน ซึ่งหมายรวมถึง ความเคารพต่อสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางธุรกิจ ข้อมูลส่วนบุคคล และจริยธรรมทางธุรกิจ เพื่อให้โครงการและการริเริ่มต่างๆ ของเราหยั่งรากและเดินหน้าได้
แกนหลักสี่ประการของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน
ขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน
- สนับสนุนเชิงเศรษฐกิจเพื่อความก้าวหน้าของชุมชน
- ผนวกความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ไว้ในแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง
- รวมข้อพิจารณาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมไว้ในกระบวนการประเมินและอนุมัติสินเชื่อ
- ใช้และสนับสนุนแนวทางปฏิบัติที่ยืดหยุ่นในด้านสภาพภูมิอากาศซึ่งจะช่วยสนับสนุนลูกค้าในการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ
- พัฒนาและให้บริการทางการเงินและโซลูชันการลงทุนที่ยั่งยืน
ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
- ปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของลูกค้าด้วยระบบและแนวทางปฏิบัติที่ปลอดภัยสูง
- ยึดมั่นในแนวทางปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม
- สร้างบริการธนาคารที่ใช้งานง่ายและส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า
- สร้างระบบธนาคารที่ใช้งานง่ายขึ้น ชาญฉลาดยิ่งขึ้น และปลอดภัยขึ้น ผ่านการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลอย่างมีจริยธรรม
- ทำให้ระบบธนาคารเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและคลอบคลุมยิ่งขึ้น
- สนับสนุนธุรกิจในทุกช่วงการเติบโต
สร้างบุคลากรผู้ชำนาญการ
- พัฒนาทีมงานที่มีประสิทธิภาพสูงและบุคลากรที่มุ่งพัฒนาสู่อนาคต
- ส่งเสริมความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน
- สนับสนุนกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
- เสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของพนักงาน
- สร้างความมั่นใจด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิภาพในสถานที่ทำงาน
- ยอมรับในความความแตกตางและความสามารถที่หลากหลาย
ตั้งมั่นบนพื้นฐานรู้รับผิดชอบ
- รักษามาตรฐานสูงสุดด้านธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการความเสี่ยง
- ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ
- ปกป้องระบบการเงินจากการใช้ในทางที่ผิด
- ผนวกหลักการด้านความยั่งยืนเข้าไว้ในแนวปฏิบัติเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง
- บริหารจัดการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อม
- สนับสนุนการพัฒนาสังคมในด้านศิลปะ เยาวชน และการศึกษา
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและกรอบความร่วมมือ
เพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาติ
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาติ (UN SDGs) กำหนดวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับสากลภายในปี 2573 และเรียกร้องให้มีการดำเนินการร่วมกันจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กลยุทธ์และการรายงานของกลุ่มยูโอบีสอดคล้องกับเป้าหมายทั้ง 17 ประการของ UN SDGs โดยเราตระหนักดีว่าแม้ว่ากลุ่มยูโอบีจะอยู่ในตำแหน่งที่ดีในการมีส่วนร่วมโดยตรงกับเป้าหมายย่อยระดับสากลนี้ แต่ขอบเขตในการดำเนินกิจกรรมด้านการเงินอย่างยั่งยืนของเราที่ได้รับการขยายให้กว้างยิ่งขึ้น การลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบและกิจกรรมการลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบ และผลกระทบเชิงบวกที่ตามมาจะช่วยให้เราปรับตัวให้สอดคล้องกับเป้าหมายในระดับสากลทั้งหมดได้ดียิ่งขึ้น
ในปี 2564 กลุ่มยูโอบีเข้าร่วมกรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) ในฐานะองค์กรสมาชิก เราสนับสนุนหลักโกลบอลคอมแพ็ก 10 ประการ ในด้านสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน สิ่งแวดล้อม และการไม่ยอมรับการทุจริต ตลอดจนมุ่งมั่นผนวกหลักการเหล่านี้เข้ารวมกับวัฒนธรรม กลยุทธ์ทางธุรกิจ และการดำเนินการในแต่ละวันของธนาคาร