ประเด็นที่สำคัญต่อความยั่งยืน
ผลกระทบที่มีนัยสำคัญที่สุดของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม สะท้อนอยู่ในปัจจัยที่มีนัยสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลของธนาคาร เราปรึกษาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าปัจจัยที่มีนัยสำคัญเหล่านี้สอดคล้องกับบริบทด้านสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ธุรกิจ และการดำเนินธุรกิจของเรา รวมถึงความคาดหวังของหน่วยงานที่กำกับดูแลและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
การประเมินประเด็นที่สำคัญต่อความยั่งยืน
ในปี 2565 กลุ่มธนาคารยูโอบีได้จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นเพื่อประเมินประเด็นที่สำคัญของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของธนาคารกลุ่มต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อรวบคุมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีนัยสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลที่มีความสำคัญที่สุดต่อกลุ่มธนาคารยูโอบี และมีผลกระทบมากที่สุดต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยวิเคราะห์ครอบคลุมทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อนำเสนอภาพรวมของความคาดหวังของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของธนาคารในทุกแง่มุม
จากนั้น ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้ทบทวนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลเหล่านี้ผ่านการปรึกษาหารือกับคณะกรรมการความยั่งยืน ตามข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการพูดคุยที่ดำเนินการต่อเนื่องและความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ธนาคารนำปัจจัยที่มีนัยสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลที่ยิ่งทียิ่งเชื่อมโยงกันมากขึ้นมาใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจทางกลยุทธ์ของธนาคารและเป็นเครื่องชี้แนะแนวปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการจัดทำรายงาน
ปัจจัยที่มีนัยสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
ปัจจัยที่มีนัยสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล |
ลำดับความสำคัญ |
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ |
ขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน |
||
การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ |
สำคัญเป็นพิเศษ |
|
การธนาคารอย่างยั่งยืน |
สำคัญเป็นพิเศษ |
|
ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง |
||
การปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม |
สำคัญเป็นพิเศษ |
|
ข้อมูลส่วนบุคคลและการกำกับดูแล |
สำคัญเป็นพิเศษ |
|
ประสบการณ์ของลูกค้า |
สำคัญเป็นพิเศษ |
|
การเข้าถึงบริการทางการเงิน |
สำคัญ |
|
สร้างบุคลากรผู้ชำนาญการ |
||
การพัฒนาบุคลาการที่มีความสามารถและครอบคลุมพนักงานทุกกลุ่ม |
สำคัญเป็นพิเศษ |
|
ความปลอดภัย สุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงาน |
สำคัญเป็นพิเศษ |
|
ตั้งมั่นบนพื้นฐานรู้รับผิดชอบ |
||
หลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการความเสี่ยง |
สำคัญเป็นพิเศษ |
|
การปฏิบัติตามกฎระเบียบ |
สำคัญเป็นพิเศษ |
|
ความปลอดภัยของข้อมูล |
สำคัญเป็นพิเศษ |
|
การบริหารจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทางตรง |
สำคัญมาก |
|
การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน |
สำคัญ |
|
การดูแลชุมชน |
สำคัญมาก |
|