การป้องกันและต่อต้านการทุจริต
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตในเชิงรุก และมีกรอบการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลและมาตรการด้านความปลอดภัยในการจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุมทุกช่องทาง ทั้งในการทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือที่ธนาคารยูโอบีทุกสาขา
การป้องกันการทุจริต
การกำกับดูแลการป้องกันการทุจริต
ธนาคารได้จัดตั้งหน่วยงานจัดการการทุจริตแบบบูรณาการ (Integrated Fraud Management หรือ IFM) ขึ้นในปี 2560 เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตของธนาคารทั่วทุกภูมิภาค และเพื่อขับเคลื่อนการร่วมมือกันของทุกสายงานเพื่อให้เกิดแนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแบบบูรณาการยิ่งขึ้น พนักงานในหน่วยธุรกิจระดับ First Line และหน่วยสนับสนุนทุกคนได้รับการฝึกอบรมด้านความตระหนักรู้เกี่ยวกับการธุรกิจเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการตรวจจับการทุจริตทั้งภายในและภายนอก
เรากำหนดกรอบการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตและนโยบายเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริต มีการกำกับดูแลธรรมาภิบาลขององค์กรสำหรับความเสี่ยงด้านการทุจริตโดยคณะกรรมการกำกับความเสี่ยงในระดับคณะกรรมการย่อย และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและเงินกองทุนในระดับคณะกรรมการบริหาร
การติดตามตรวจสอบ
เราได้นำมาตรการการติดตามตรวจสอบการทุจริตภายในสำหรับสายงานส่วนหน้ามาปฏิบัติใช้ เพื่อป้องกันการทุจริตและยกระดับการให้บริการอย่างต่อเนื่องตามพัฒนาการของแนวโน้มการทุจริต นอกจากนี้ เรายังลงทุนอย่างต่อเนื่องในระบบการติดตามตรวจสอบและตรวจจับการทุจริต
นอกจากนี้ เราทำการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินการควบคุมความเสี่ยงหลัก (Key Risk Control Self-Assessment หรือKRCSA) ประจำปีในทุกภาคส่วนของธนาคาร
นโยบายไม่ยอมรับการฉ้อโกงอย่างสิ้นเชิง
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กำหนดนโยบายไม่ยอมรับการฉ้อโกงภายในและการละเมิดมาตรฐานจรรยาบรรณของพนักงานกลุ่มยูโอบีอย่างสิ้นเชิง และได้แจ้งต่อพนักงานทุกคนว่าธนาคารไม่ลังเลที่จะสอบสวนและรายงานเหตุการณ์การฉ้อโกงภายในที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง