การพัฒนาศักยภาพ และการไม่เลือกปฏิบัติ
ธนาคารยูโอบี เป็นองค์กรที่ให้โอกาสเท่าเทียมกันในการทำงานเสมอ เรามุ่งมั่นจัดให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย และการมีสุขภาพที่ดีของพนักงาน รวมถึงการพํฒนาขีดความสามารถของพนักงาน
การพัฒนาศักยภาพพนักงาน
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย มุ่งมั่นพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการบริการลูกค้าและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการธนาคารเป็นแบบดิจิทัลได้อย่างง่ายดาย กลยุทธ์ของเราเริ่มจากการดึงดูดใจบุคลากรที่มีศักยภาพสูง และมีค่านิยมที่สอดคล้องกับองค์กร ในขณะเดียวกันก็เสริมทักษะให้พนักงานปัจจุบัน เพื่อให้ทุกคนค้นพบตัวเอง สอดคล้องกับค่านิยม และเป้าหมายของธนาคารยูโอบี ประเทศไทย
ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เชื่อมั่นในการสร้างสถานที่ทำงานที่ยอมรับในความแตกต่างกันของพนักงานทุกคนและมุ่งมั่นสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเติบโตและพัฒนาในองค์กรอย่างเท่าเทียมกัน การประเมินการพัฒนาของพนักงานเกิดจากการกำหนดวัตถุประสงค์การปฏิบัติงานของพนักงาน และหัวหน้างาน
เราคาดหวังให้พนักงานปฏิบัติตามมาตรฐานจรรยาบรรณของพนักงานกลุ่มยูโอบีซึ่งได้รับการปรับปรุงเป็นประจำอยู่เสมอ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของนโยบาย และระเบียบข้อบังคับต่างๆ
เมื่อเริ่มงาน พนักงานใหม่ทุกคนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับหน้าที่และสิทธิของตนภายใต้มาตรฐานจรรยาบรรณของพนักงาน และต้องทบทวนความรู้พร้อมให้คำมั่นในการปฏิบัติตามมาตรฐานจรรยาบรรณของพนักงานอีกครั้งทุกปี นอกจากนี้ เรายังช่วยพนักงานให้เข้าใจ และปลูกฝังการปฏิบัติตามมาตรฐานจรรยาบรรณผ่านการสื่อสารช่องทางต่าง ๆ ตลอดทั้งปี
การยึดมั่นในสิทธิมนุษยชน
ธนาคารมุ่งมั่นสนับสนุนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอILO) ซึ่งเป็นองค์กรเดียวของสหประชาชาติที่ดำเนินในลักษณะไตรภาคี มีหลักการทำงานเกี่ยวกับการไม่เลือกปฏิบัติ การใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ การให้เสรีภาพของสมาคม และการเจรจาต่อรอง
การบริหารจัดการผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย สนับสนุนวัฒนกรรมการทำงานบนพื้นฐานของการปฏิบัติงานตามกรอบแนวคิดการบริหารจัดการแบบ PEAK ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ Plan (การวางแผน) Engage (การมีส่วนร่วม) Appraise (การประเมิน) และ Keep Track (การติดตาม) นอกจากนี้ ยังรวมองค์ประกอบที่สะท้อนความสำคัญในเรื่องค่านิยมของยูโอบี ได้แก่ คุณธรรม สร้างสรรค์ เป็นหนึ่งเดียว และมุ่งมั่น ตลอดจนกรอบการพัฒนาสมรรถนะแบบ SEED ตามระดับตำแหน่งของพนักงาน เข้าไว้ในผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
พนักงานยึดกรอบแนวคิดการบริหารจัดการแบบ PEAK ในการกำหนดเป้าหมายของตัวเองและการทำงานตอนต้นปีโดยมีการปรึกษาหารือกับหัวหน้างาน อีกทั้ง วางแผนปรับปรุงผลการปฏิบัติงานแก่พนักงานที่ต้องการคำชี้แนะเพิ่มเติมในการทำงานที่รับผิดชอบ นอกจากนี้ พนักงานจะพูดคุยกับหัวหน้างานแบบตัวต่อตัวตลอดทั้งปีเพื่อทบทวนความก้าวหน้าในการทำงาน และความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน สิ้นปีเราจะประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานตามเป้าหมายในการทำงาน และแผนการพัฒนาตนเอง
นอกเหนือจากการประเมินตามแนว PEAK แล้ว คณะกรรมการพิจารณาผลการทำงาน และการพัฒนาพนักงาน (Performance and Development Council หรือ PDC) ของธนาคารยังจัดประชุมทุกปีเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับผลการทำกงาน และการพัฒนาการของพนักงานที่มีศักยภาพสูง การประชุมนี้จัดขึ้นโดยผู้บริหารอาวุโสที่ได้รับการคัดเลือเพื่อทำหน้าที่พิจารณาผลการปฏิบัติงานสุดท้าย การพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง และให้คำแนะนำในการพัฒนาของพนักงาน
อีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานคือ การพิจารณาคำแนะนำติชมจากพนักงานรอบข้างที่เรียกว่า การประเมินแบบ 360 องศา ซึ่งการประเมินประกอบด้วยพนักงานที่รายงานตรงต่อหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่มีค่าในกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร
การพัฒนาผู้นำและการวางแผนผู้สืบทอดตำแหน่ง
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ตระหนักดีว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จในอนาคตได้จำเป็นต้องค้นหาพนักงานที่มีศักยภาพสูงเพื่อเติบโตเป็นผู้นำในอนาคต โดยมีการจัดโปรแกรมอบรมเพื่อพัฒนาอย่างชัดเจน โดยคณะกรรมการพิจารณาผลการทำงาน และการพัฒนาพนักงาน ซึ่งมีกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประธาน จะระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูง พร้อมจัดโปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำ พร้อมให้คำปรึกษา หรือโค้ชเพื่อการเติบโตในการทำงานที่ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย
เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่นภายใต้ภาวะผู้นำที่ชัดเจนเพื่อให้ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เดินหน้าสู่อนาคต ธนาคารจึงได้กำหนดให้มีแผนการสืบทอดสำหรับตำแหน่งสำคัญขององค์กร โดยผู้บริหารสายงาน หรือ Country Function Heads เป็นผู้ระบุผู้สืบทอดตำแหน่ง โดยจะได้รับโอกาสให้ทำงานหลายอย่างเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และความเข้าใจถึงการทำงานร่วมกันภายในธนาคาร
การพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพรุ่นใหม่
โครงการ UOB Management Associate Programme มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพรุ่นใหม่เข้าทำหน้าที่ผู้นำในองค์กร โครงการพัฒนานี้มีระยะเวลา 18 เดือน โดยผู้สมัครต้องผ่านการบวนการสรรหา และคัดเลือกที่เข้มงวดและละเอียดถี่ถ้วน โปรแกรมนี้มีหมุนเวียนการทำงานในหลายหน่วยงานของธนาคารเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ พัฒนาความรู้ และทักษะเฉพาะด้านต่างๆ ตลอดจนได้รับมอบหมายให้จัดทำโครงการระดับภูมิภาคโดยมีโอกาศได้ร่วมทำงานกับผู้บริหารระดับสูงเพื่อเข้าใจองค์กรในเชิงลึกยิ่งขึ้น ในปี 2565 มีผู้สมัครโครงการนี้กว่า 1,800 คน ในจำนวนนี้ผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกมีเพียง 3 คนเท่านั้น
การพัฒนาบุคลากรในปัจจุบันและอนาคต
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะหลายโครงการเพื่อให้พนักงานมีทักษะที่จำเป็นเพื่อมอบการบริการที่เป็นเลิศแก่ลูกค้า และส่งเสริมความก้าวหน้าในการทำงาน
โครงการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะ ได้แก่
- Knowledge Station
MyUOB เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่นำเสนอหัวข้อ และเนื้อหาใหม่ๆ ทุกเดือนที่ออกแบบมาให้พนักงานเรียนรู้ด้วยตัวเอง
- Wholesale Banking Academy
Moody's Analytics ร่วมกับ Wholesale Banking ได้พัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับเครดิตองค์กรและความเสี่ยงด้านเดรดิตขึ้น รวมถึงโครงการ
- Business Banking Academy
หลักสูตรสำหรับพนักงานที่มีที่มีผลการทำงานดี และดีเยี่ยม เพื่อเติบโตใน Business Banking
- โปรแกรม LEAD
เปิดตัวขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้จัดการสาขา เพื่อให้ทันต่อการวางแผนการปรับเปลี่ยนสาขา
- Better U
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้เปิดตัวโปรแกรม Better U ซึ่งเป็นโครงการของกลุ่มธนาคารเพื่อยกระดับทักษะเชิงดิจิทัลให้กับพนักงาน โดยมุ่งเน้นทักษะหลัก 5 ด้าน นอกจากนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ยังได้ขยายโปรแกรมหลัก โดยการเปิดตัวโปรแกรมที่เรียกว่า Better U Deep Dive เพื่อเพิ่มพูนการใช้ทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจโดยการนำทักษะหลัก 5 ด้านมาใช้ในการทำงาน และต่อยอด Better U ด้วย Better U 2 เพื่อเพิ่มพูนทักษะในการทำงานเฉพาะด้านในเรื่อง การบริหารจัดการโครงการและการวิเคราะห์ข้อมูล
ความหลากหลายของพนักงาน และการยอมรับในความแตกต่าง
เราเชื่อว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรม และลักษณะเฉพาะของพนักงานจะช่วยสร้างสถานที่ทำงานที่ส่งเสริมความคิดใหม่ และความร่วมมือกันในการทำงานเชิงบวก ความหลากหลาย และการยอมรับในความแตกต่างกันในการทำงานที่เดียวกันซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของธนาคารในการธำรงไว้เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน รวมถึงการดึงดูดใจ รักษา และพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพไว้
ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เป็นองค์กรที่ให้โอกาสเท่าเทียมกันในการทำงานเสมอ เรามุ่งมั่นดึงดูดใจ และรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพ มีความตั้งใจ และทำสิ่งที่ถูกต้องเสมอ นโยบายการสรรหาบุคลากรของธนาคารกำหนดแนวทางในกระบวนการ และการจ้างงานของเรา การจ้างงานแบบไม่เลือกปฏิบัติ การตัดสินใจจ้างงานทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสามารถ และตรงกับตำแหน่งที่เปิดรับ
มาตรฐานจรรยาบรรณของพนักงานธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ห้ามมิให้มีการเลือกปฏิบัติ กลั่นแกล้ง หรือคุกคามทุกประการ ไม่ว่าในด้านเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ เพศ อัตลักษณ์หรือการแสดงออกทางเพศ สีผิว ความเชื่อ ศาสนา ประเทศที่เกิด สัญชาติ ความเป็นพลเมือง อายุ ความทุพพลภาพ สถานะ เพศวิถี วัฒนธรรม บรรพบุรุษ สถานะการเป็นทหารผ่านศึก สถานะทางเศรษฐกิจ และสังคม และลักษณะอื่นใดที่กฎหมายคุ้มครอง ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ตัดสินใจจ้างงานบนพื้นฐานของความต้องการทางธุรกิจ เงื่อนไขของงาน และคุณสมบัติของบุคลากร เราสนับสนุนให้พนักงานแจ้งข้อกังวลผ่านช่องทางรับข้อร้องเรียนจากพนักงาน (whistle-blowing) ของกลุ่มธนาคาร โดยมิต้องหวั่นเกรงต่อการถูกตอบโต้กลับ