ค้นคำตอบ การแยก “ศิลปะ” ออกจาก “ศิลปิน” กับ โด่ง - พงษธัช อ่วยกลาง ศิลปินประติมากรเบอร์ต้นๆ ของไทย ในยุคแห่งศิลปะร่วมสมัยและคอนเซปต์ชวลอาร์ต ผู้กำหนดแนวทางและสร้างสรรค์ขึ้นจนมีขนาดมหึมาทั้งต่อสเกล ในพื้นที่ และในใจของผู้ที่ได้เห็นนั้น ล้วนเกิดจากการเข้าไปศึกษาและทำความเข้าใจกับ “พื้นที่” รวมถึง “ผู้คน”
“รอง – จิตต์สิงห์ สมบุญ” ไม่เพียงได้รับการยอมรับในฐานะศิลปินต้นแบบผู้ผสานงานศิลปะเข้ากับงานดีไซน์ได้อย่างลงตัว แต่ยังกลายเป็น “ศิลปินไอคอน” ของบรรดาศิลปินรุ่นใหม่ผู้หลงใหลในสไตล์อันจัดจ้านจำนวนมาก มาร่วมเข้าถึงความคิดและตัวตน ทั้งเรื่องมุมมองการใช้ชีวิต การเปลี่ยนผ่าน ไปจนถึงความเข้าใจใน “มิติของกาลเวลา” ในบทสัมภาษณ์กัน
พูดคุยกับ “โน้ต - วัจนสินธุ์ จารุวัฒนกิตติ” ผู้ก่อตั้งแกลเลอรี Palette Artspace และคิวเรเตอร์คนรุ่นใหม่ คือคนที่เป็นเสมือน “สื่อสัญญาณ” เชื่อมต่อโลกศิลปะเชิงกายภาพเข้ากับเมตาเวิร์สสุดล้ำ ทั้งยังเป็น “ผู้สนับสนุน” คนสำคัญซึ่งช่วยกรุยทางให้กับศิลปินได้ต่อยอดความก้าวหน้าในนิเวศแห่งศิลป์
แม้ว่า “ความเหนือจริง” หรือ Surrealism จะทำให้ชื่อของ “ประทีป คชบัว” โด่งดังกลายเป็นที่รู้จักในวงการศิลปะ แต่ตัวตนของประทีปนั้นกลับเต็มไปด้วย “ความจริง” ที่เกิดขึ้นตามครรลองของโอกาสและจังหวะเวลาในชีวิต ที่ทำให้เขาสามารถใช้ชีวิตแบบ “ศิลปินตัวจริง” เพื่อสร้างงานในแนว “เหนือจริง” อยู่ทุกวัน
การเปิดรับโลกยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยเครื่องมือ ต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการส่งเสริมอาชีพ ที่สำคัญต้องลงมือขวนขวาย ค้นคว้า เพิ่มพูนความรู้และทักษะใหม่ๆ และฝึกนำมาใช้อยู่เสมอ เพราะสิ่งเหล่านี้เริ่มกลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตบนเส้นทางศิลปินอาชีพในโลกยุคใหม่
ร่วมถอดรหัสความคิดและมุมมองของธวัชชัย สมคง กับหลากหลายบทบาทในนิเวศแห่งศิลปะ ที่ช่วยฉายภาพให้เห็นถึงความสำคัญของการปรับตัวทั้งนิเวศของวงการศิลปะไทย รวมถึงการมองไปในอนาคตที่ศิลปินต้องพัฒนาทั้งทักษะเดิม และเพิ่มเติมทักษะใหม่ (Upskill - Reskill) เพื่อก้าวให้ทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ร่วมถอดรหัสความจริงที่เป็นพื้นฐานในการทำงานของ “เรื่องศักดิ์ อนุวัตรวิมล” ผ่านบทสัมภาษณ์ที่จะชวนคุณตั้ง
คำถามว่า “วิทยาศาสตร์” กับ “ศิลปะ” แท้จริงคือเส้นขนานที่ยากจะบรรจบ หรือเป็นเรื่องที่แยกจากกันไม่ได้
ซึ่งเรืองศักดิ์เลือกใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการนำเสนอความจริงด้านต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
ภัณฑารักษ์ (Curator) สปอตไลต์ผู้สาดส่องนิเวศในงานศิลป์ เพราะภัณฑารักษ์คือผู้ที่สื่อสารกับศิลปิน เฟ้นหาผลงาน
ที่น่าสนใจ และนำมาบอกเล่ากับผู้ชมในมุมมองที่เหมาะสม บทบาทที่ท้าทายนี้ จึงเป็นเสมือน “น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า”
ในนิเวศแห่งศิลปะ หรือการเป็นคนตรงกลางระหว่างศิลปินและผู้ชม
ศิลปินไทยร่วมสมัยผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม 2 มิติให้กลายเป็นภาพ 3 มิติ ผู้ถ่ายทอดเรื่องราวบนผืนผ้าบางหรือ ‘มุ้ง’ เป็นสื่อ ลงสีอย่างมีชั้นเชิง จัดวางซ้อนทับจนเกิดเป็นงานศิลป์อันงดงามที่ดูล่องลอย ลวงตา เลือนราง หากแต่ล้ำลึก กระทบจิตใจของผู้ชม สะท้อนสัจธรรมแห่งชีวิต
ศิลปินไทยที่สร้างสรรค์ผลงานผ่านศิลปะร่วมสมัยแนวสะท้อนสัจจนิยมทางสังคม และแนวความเชื่อในเชิงพุทธศิลป์ เขายังเป็นศิลปินที่ได้รับความสนใจจากเวทีศิลปะระดับนานาชาติ โดยเคยได้รับเชิญให้ส่งผลงานไปจัดแสดงในเวที ‘The 3rd Fukuoka Asian Art Triennale 2005’ ในประเทศญี่ปุ่นเมื่ออายุเพียง 29 ปี
ศิลปะที่สื่อสารกับคนทุกกลุ่ม
ในวันที่ผู้คนมองว่า “ศิลปะ” เป็นเพียงเรื่องของ “ศิลปิน”
และคนทั่วไปเข้าใจว่าศิลปะนั้นห่างไกลจากวิถีชีวิตและการทำมาหากินในแต่ละวันของชุมชน “ศรัณย์ เย็นปัญญา” คือผู้ที่ตอบได้อย่างชัดเจนว่า “ทำไมศิลปะถึงมีความหมายเท่ากับวิถีชีวิต” และวิถีชีวิตนั้นก็ไม่จำเป็นต้องแพง แต่คือชีวิต
ธรรมดาๆ ของคนทั่วไป