ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
มั่นใจและปลอดภัยกับระบบรักษาความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยี ที่ได้รับการยอมรับในระดับมาตรฐานสากล ประกอบด้วย
- การเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) ด้วย Secured Socket Layer (SSL) 128 bits
- การวางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และไฟล์วอร์ (Firewall)
- ความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบริการ UOB Personal Internet Banking และ UOB Mighty อีกขั้นด้วยระบบรักษาความปลอดภัย ด้วยรหัสแบบใช้งานครั้งเดียว (One Time Password หรือ OTP)
รหัสผ่านแบบใช้งานครั้งเดียว (One Time Password หรือ OTP)
One Time Password หรือ OTP คือ รหัสผ่านที่ใช้เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยให้กับข้อมูลส่วนบุคคล และการทำธุรกรรมออนไลน์ของคุณ ซึ่ง OTP จะเป็นกลุ่มหมายเลข 6 หลัก ที่จะใช้ทำรายการได้เพียงครั้งต่อครั้งเท่านั้น ทำให้สามารถลดความเสี่ยงในการทำธุรกรรมผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้มากกว่าการใช้รหัสประจำตัวและรหัสผ่านแบบปกติเพียงอย่างเดียว (Username & Password)
จะขอรับ OTP ได้อย่างไร
สำหรับลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าสมัครใหม่ คุณสามารถติดต่อสาขาธนาคารที่สะดวก โดยกรอกใบสมัคร UOB Personal Internet Banking พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง (สำหรับชาวต่างชาติ) 1 ฉบับ เพื่อดำเนินการสมัคร
คุณสามารถเลือกรับ OTP ได้ 2 ช่องทาง ดังนี้
- SMS-OTP สำหรับรับ OTP ผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือ (เฉพาะหมายเลขที่จดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้น)
- SecurePlus token-OTP สำหรับรับ OTP ผ่านอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย เหมาะกับลูกค้าที่เดินทางไปต่างประเทศเป็นประจำ
คำแนะนำเพื่อความปลอดภัย
- วิธีเพิ่มความปลอดภัยเบื้องต้นสำหรับผู้ใช้บริการ UOB Personal Internet Banking ธนาคารได้พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัย Two-Factor Authentication (2FA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในระดับมาตรฐานสากล โดยคุณจะได้รับรหัสผ่านแบบใช้งานครั้งเดียว (One Time Password: OTP) ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ หรือหรืออุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token) ทุกครั้ง โดยคุณสามารถติดต่อขอลงทะเบียนได้ที่ธนาคารยูโอบี ทุกสาขา
- ควรหมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านของคุณเป็นประจำ เพื่อให้ยากต่อการปลอมแปลงโดยบุคคลที่ไม่หวังดี
การเข้าใช้บริการ UOB Personal Internet Banking ธนาคารขอแนะนำให้คุณเข้าใช้งานโดยพิมพ์ URL Address: https://www.uob.co.th โดยตรง อย่าคลิกลิงค์ที่แนบมากับข้อความโฆษณา หรือโปรโมชั่น ต่างๆ ที่คุณได้รับผ่านอีเมล์ เนื่องจากปัจจุบันมีการสร้างเว็บไซต์ปลอมมากมายเพื่อหวังให้คุณหลงกล และระบุรหัสประจำตัว รวมถึงรหัสผ่านเข้าไปในเว็บไซต์ดังกล่าว เพื่อแอบเก็บข้อมูลและนำไปลักลอบทำธุรกรรมเองในภายหลัง ซึ่งเรียกวิธีการนี้ว่า Phishing
- วิธีเพิ่มความปลอดภัยจากไวรัสคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้บริการ UOB Personal Internet Banking มีรายงานจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ ว่าในปัจจุบันไวรัสมีความสามารถในการขโมยรหัสประจำตัว รหัสผ่าน หรือแม้แต่รหัสผ่านแบบใช้งานครั้งเดียว (OTP) จากคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานได้ นอกจากนี้ยังสามารถปิดการใช้งานโปรแกรมตรวจสอบไวรัส และควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ได้อีกด้วย ดังนั้น ธนาคารจึงขอแนะนำวิธีเพิ่มความปลอดภัยจากไวรัสคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้บริการ ดังนี้
- ไม่เปิดไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ หรือคลิกลิงค์ที่อยู่ในอีเมล์ หากไม่ทราบหรือไม่แน่ใจว่าอีเมล์นั้นส่งมาจากใครหรือองค์กรใด
- ทำการติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบไวรัส และทำการปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสอย่างสม่ำเสมอ
- ทำการสแกนไวรัสอย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจสอบหาไวรัส โปรแกรมอันตราย รวมถึงตั้งเวลาให้มีการสแกนแบบอัตโนมัติ
- ปรับปรุงซอฟต์แวร์ต่างๆ ภายในเครื่องให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากโปรแกรมอันตรายต่าง ๆ
- ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้บริการ UOB Personal Internet Banking
เนื่องจากบริการ UOB Personal Internet Banking เป็นบริการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้บริการสามารถทำธุรกรรมได้ทุกที่ ทุกเวลา ธนาคารจึงขอแนะนำข้อควรปฎิบัติแก่ผู้ใช้บริการ ดังต่อไปนี้
- ตรวจสอบบันทึกเวลาการเข้าใช้งานระบบครั้งสุดท้ายว่าถูกต้องหรือไม่
- เมื่อเข้าสู่ระบบ UOB Personal Internet Banking ไม่ควรเปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ค้างไว้ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งาน
- เมื่อเลิกใช้งาน ควรคลิกปุ่ม "ออกจากระบบ" โดยทันที
- อย่าลืมตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้งเมื่อมีการทำธุรกรรมผ่านบริการ UOB Personal Internet Banking
- อย่าลืมลบประวัติการใช้งานของบราวเซอร์หลังจากเสร็จสิ้นการใช้งานในแต่ละครั้ง เพื่อลบข้อมูลบัญชีของผู้ใช้ทั้งหมด
- คุณสามารถลบข้อมูลเก่าหลังจากที่คุณทำรายการสำเร็จ ได้ด้วยตนเอง ดังนี้
- สำหรับลูกค้าที่ใช้ Microsoft Internet Explorer เวอร์ชัน 6.0 หรือ สูงกว่า
- เลือก "Tools" จากเมนูด้านบน
- เลือก "Internet Options"
- เลือก "General"
- เลือก "Delete Files" ใต้คำว่า "Temporary Internet files"
- เลือก "OK" และปิดหน้าต่าง
- ไม่เปิดเผยรหัสประจำตัว รหัสผ่านหรือแม้แต่รหัสผ่านแบบใช้งานครั้งเดียว (OTP) สำหรับเข้าใช้บริการ UOB Personal Internet Banking และ UOB Mighty แก่ผู้อื่น
- หลีกเลี่ยงการใช้บริการ UOB Personal Internet Banking ผ่านคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตสาธารณะ
- หลีกเลี่ยงการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ไม่รู้จักและไม่ปลอดภัย
- ควรอ่านข้อความแจ้งเตือนทาง SMS อย่างระมัดระวังและไม่ป้อนข้อมูล OTP หากคุณไม่ได้มีการขอรหัสดังกล่าว
โปรดทราบ : เมื่อพบปัญหาการใช้งานควรแจ้งธนาคารทันทีที่ศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี โทร. 0 2285 1555
นโยบายด้านความปลอดภัยสำหรับคุณ
เรามุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานของธุรกิจและพร้อมยกระดับให้มากกว่า งานของเราคือการปกป้องดูแลข้อมูลของคุณ และเราทำสิ่งนี้อย่างจริงจัง ดูวิธีการที่เราใช้รักษาข้อมูลของคุณและนโยบายด้านความปลอดภัย
ความปลอดภัยทางออนไลน์
การทำธุรกรรมออนไลน์กับ UOB มีความปลอดภัยมาก ให้คุณได้รับความสะดวกสูงสุดจากโปรแกรมรักษาความปลอดภัยแบบหลายชั้น
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่เรารักษาความปลอดภัยให้ธุรกรรมของคุณ
วิธีการที่เราปกป้องดูแลข้อมูลออนไลน์ของคุณยกระดับการตรวจสอบตัวตนเพื่อรักษาความปลอดภัยด้วย SMS หรือ SecurePlus token
ธนาคารมี SecurePlus token ที่ใช้การยืนยันตัวตนสองระดับ (Two-Factor Authentication - 2FA)
คุณจะต้องใส่รหัสแบบใช้ครั้งเดียว ซึ่งจะได้รับจาก SMS หรือ SecurePlus token ในธุรกรรมออนไลน์ของคุณ
ดูแลความปลอดภัยในบัญชีของคุณด้วยไฟร์วอลล์
ไฟร์วอลล์หลายชั้นจะทำหน้าที่เป็นกำแพงกั้นระหว่างระบบของธนาคารและอินเตอร์เน็ต เพื่อปกป้องบัญชีและข้อมูลส่วนตัวของคุณ
ปกป้องธุรกรรมของคุณด้วยการเข้ารหัสแบบ SSL 128-บิต SSL
คุเราปกป้องความลับของธุรกรรมและรายละเอียดบัญชีของคุณ การเข้ารหัส Secure Sockets Layer (SSL) 128 บิต ช่วยปกป้องข้อมูลของคุณทันทีที่ทำธุรกรรมทางออนไลน์
ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของคุณด้วย Username และ Password เฉพาะบุคคล
การเข้าสู่ระบบเว็บไซต์ที่ปลอดภัยของเราเพื่อทำธุรกรรมนั้นทำได้เพียงการใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของคุณเท่านั้น
UniAlerts แจ้งข้อมูลการทำธุรกรรมของคุณ
คุณสามารถรับบริการจาก UniAlerts ซึ่งจะแจ้งข้อความทางโทรศัพท์เกี่ยวกับธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การเพิ่มชื่อผู้จ่ายเงินและการโอนเงิน ออนไลน์ที่เกินจำนวนที่กำหนด คลิกที่นี่ เพื่อลงทะเบียนหรือจัดการข้อมูล UniAlerts ของคุณ
ออกจากระบบอัตโนมัติเพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูล
ในกรณีที่การทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ตของคุณไม่มีการเคลื่อนไหวในช่วงเวลาหนึ่ง คุณจะถูกตัดออกจากระบบเพื่อที่
บัญชีและรายละเอียดต่าง ๆ จะไม่ถูกนำไปใช้
ธนาคารบริหารข้อมูลส่วนตัวของฉันอย่างไร
เรามุ่งมั่นที่จะรักษาระดับความเป็นส่วนตัวของลูกค้าด้วยมาตรฐานสูงสุด ธนาคารและพันธมิตรของเราจะไม่ขาย ให้เช่า หรือให้ยืมข้อมูลส่วนบุคคลที่คุณส่งให้กับเรา
ธนาคารไม่มีนโยบายขอ Username หรือ Password ส่วนตัวผ่านทางโทรศัพท์ อีเมล์หรือข้อความทางโทรศัพท์
Username หรือ Password ของคุณเป็นข้อมูลส่วนบุคคล อย่าเปิดเผยให้ผู้ใดทราบ
https://www.uob.co.th/th/internet-banking-privacy.html
คำถามที่พบบ่อย
สมัคร/ยกเลิกบริการอย่างไร
Q: ต้องการสมัคร UOB Personal Internet Banking (PIB) ต้องทำอย่างไร ?
A: 2 ช่องทางง่ายๆ ในการสมัครใช้บริการเพียงคุณมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน บัญชีสินเชื่อ หรือบัญชีบัตรเครดิต ของธนาคารยูโอบี อย่างน้อย 1 บัญชี
สมัครออนไลน์ คลิก
สมัครออนไลน์ ผู้ใช้บริการจะได้รับรหัสประจำตัว (Username) และรหัสผ่าน (Password) และสามารถเข้าใช้บริการได้ทันที โดยรายการที่สามารถทำได้มี ดังนี้ เช็คยอดเงินในบัญชีและบัตรเครดิต, โอนเงินภายในบัญชีตนเอง, ชำระบัตรเครดิตของตนเอง, ขอเพิ่มวงเงินบัตรเครคิตชั่วคราว, บริการเกี่ยวกับเช็ค และเพิ่มบัญชีตนเอง
หมายเหตุ : หากผู้ใช้บริการต้องการทำรายการโอนเงินไปยังบัญชีบุคคลอื่นทุกประเภท, รายการชำระค่าสินค้าและบริการ, บริการธนาณัติออนไลน์ และธุรกรรมอื่นๆ ผู้ใช้บริการสามารถแจ้งความประสงค์สมัครบริการเต็มรูปแบบที่สาขาธนาคารเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง
สมัครผ่านสาขา
3 ขั้นตอนง่ายๆ ในการสมัครใช้บริการ
- สมัครบริการผ่านสาขาธนาคารทั่วประเทศ
- กรอกข้อมูลในใบสมัครและลงทะเบียนหมายเลขโทรศัพท์มือถือ (SMS) หรืออุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token) เพื่อรับรหัสแบบใช้งานครั้งเดียว (One Time Password หรือ OTP) พร้อมลงลายมือชื่อให้ครบถ้วน
- ส่งใบสมัครพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง (สำหรับชาวต่างชาติ) 1 ฉบับ ผ่านสาขาธนาคารที่คุณสะดวก
โปรดทราบ : หลังจากที่คุณได้รับรหัสประจำตัว (Username) ผ่านทางอีเมล์ที่ระบุไว้ในใบสมัคร คุณจะได้รับข้อความ (SMS) ยืนยันการลงทะเบียนบริการ UOB Personal Internet Banking จากนั้น ธนาคารจะจัดส่งรหัสผ่าน (Password) เพื่อเข้าใช้บริการไปยังสถานที่ที่คุณได้ระบุไว้ในใบสมัครภายใน 7 วันทำการ (ภายในประเทศเท่านั้น)
หมายเหตุ : ผู้ใช้บริการจะต้องศึกษาข้อสัญญา ข้อกำหนด เงื่อนไขต่างๆ อัตราค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่างๆ ตามที่ธนาคารกำหนดเป็นไปตามประกาศที่ธนาคารปิดประกาศไว้ ณ ที่ทำการและบนเว็บไซต์ของธนาคาร (www.uob.co.th) ธนาคารอาจทำการเปลี่ยนแปลงได้โดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าตามวิธีดังกล่าวไม่น้อยกว่า 30 วัน
Q: ยกเลิก UOB Personal Internet Banking (PIB) ต้องทำอย่างไร ?
A: กรุณาติดต่อสาขาของธนาคารทั่วประเทศ เพื่อกรอกแบบฟอร์มแจ้งความประสงค์ขอยกเลิกการใช้บริการ UOB Personal Internet Banking หรือติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี โทร. 0 2285 1555
เข้าใช้บริการอย่างไร
Q: เข้าใช้บริการอย่างไร ?
A: เข้าสู่ระบบด้วยรหัสประจำตัว (Username) และรหัสผ่าน (Password)
เลือกรูปแบบการเข้าใช้บริการได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
- บริการตรวจสอบยอดเงินคงเหลือ โดยไม่ต้องใส่ OTP เพื่อตรวจสอบยอดเงินคงเหลือในบัญชีเท่านั้น ไม่สามารถเรียกดูข้อมูลอื่นๆ หรือทำธุรกรรมใดๆ ได้
- บริการเต็มรูปแบบ โดยต้องใส่ SMS-OTP หรือ SecurePlus token-OTP เพื่อเข้าทำธุรกรรมออนไลน์ได้ทุกรูปแบบ
โปรดทราบ : หลังจากที่คุณได้รับรหัสประจำตัว (Username) ผ่านทางอีเมล์ที่ระบุไว้ในใบสมัคร คุณจะได้รับข้อความ (SMS) ยืนยันการลงทะเบียนบริการ UOB Personal Internet Banking จากนั้น ธนาคารจะจัดส่งรหัสผ่าน (Password) เพื่อเข้าใช้บริการไปยังสถานที่ที่คุณได้ระบุไว้ในใบสมัครภายใน 7 วันทำการ (ภายในประเทศเท่านั้น)
ไม่ได้รับรหัสประจำตัว/รหัสผ่าน
Q: ยังไม่ได้รับรหัสประจำตัว (Username) ต้องทำอย่างไร ?
A:
- กรุณาตรวจสอบในกล่องข้อความขยะ (Junk Folder) ในอีเมลสำหรับการติดต่อที่คุณให้ไว้กับธนาคาร
- หากไม่พบอีเมลดังกล่าว กรุณาติดต่อผ่าน ศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี โทร. 0 2285 1555 หรือติดต่อสาขาธนาคารที่สะดวก โดยสามารถ ค้นหาสาขาธนาคารยูโอบี
- หากต้องการเปลี่ยนแปลงอีเมลในการรับรหัสประจำตัว (Username) กรุณาติดต่อสาขาธนาคารที่สะดวก โดยสามารถ ค้นหาสาขาธนาคารยูโอบี
A: ยังไม่ได้รับรหัสผ่าน (Password) ต้องทำอย่างไร
- ธนาคารได้ดำเนินการจัดส่งซองรหัสผ่าน (Password) ไปยังช่องทางที่คุณได้ระบุไว้ในใบสมัคร ดังนี้
- หากคุณเลือกรับรหัสผ่าน (Password) ทางไปรษณีย์ กรุณาตรวจสอบตู้ไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ท่านให้ไว้กับธนาคาร หรือสอบถามที่ทำการไปรษณีย์ในพื้นที่
- หากคุณเลือกรับรหัสผ่าน (Password) ทางสาขาธนาคารยูโอบี กรุณาติดต่อขอรับได้ ณ สาขาที่คุณระบุไว้
- หากไม่พบซองรหัสผ่านดังกล่าว กรุณาติดต่อสาขาธนาคารที่สะดวก ค้นหาสาขาธนาคารยูโอบี
เข้าใช้บริการครั้งแรก
Q: เปลี่ยนรหัสประจำตัวและรหัสผ่านครั้งแรกอย่างไร ?
A: ในการเข้าใช้บริการครั้งแรก ระบบจะบังคับให้เปลี่ยนรหัสประจำตัวและรหัสผ่านโดยอัตโนมัติ กรุณาทำตามขั้นตอน ดังนี้
- ระบุรหัสประจำตัวและรหัสผ่านตามที่ได้รับจากธนาคาร
- เปลี่ยนแปลงรหัสประจำตัว และรหัสผ่านใหม่
- รหัสประจำตัวใหม่ (Username) ต้องประกอบด้วย ตัวเลข และตัวอักษรภาษาอังกฤษ หรือตัวอักษรล้วน จำนวน 8-16 ตัวอักษร โดยรหัสประจำตัวที่คุณเปลี่ยนนี้ จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก
- รหัสผ่านใหม่ (Password) ต้องประกอบด้วย ตัวเลข และตัวอักษรภาษาอังกฤษ หรือตัวเลขล้วน จำนวน 8-24 ตัวอักษร โดยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตัวเองตลอดเวลา
โปรดทราบ ห้ามเว้นวรรค ห้ามมีอักขระพิเศษ และระวังการใช้ตัวอักษรเล็ก ตัวอักษรใหญ่
- เลือก "ส่งข้อมูล" เพื่อดำเนินการ
- ระบบจะบังคับให้คุณเข้าสู่ระบบใหม่อีกครั้ง กรุณากรอกรหัสประจำตัว/รหัสผ่านใหม่ที่คุณได้กำหนดไว้ เพื่อเข้าใช้บริการ
ลืม Username และ/หรือ Password ต้องทำอย่างไร
Q: ลืม Username ต้องทำอย่างไร ?
A: กรุณาติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี โทร. 0 2285 1555 ธนาคารจะดำเนินการตามขั้นตอนการตรวจสอบและยืนยันบุคคล และจะแจ้ง Username ให้ทราบผ่านอีเมล์ที่คุณได้ให้ไว้กับธนาคารภายในวันทำการถัดไป หรือติดต่อสาขาธนาคารที่สะดวก
Q: ลืม Password หรือถูกระบบล็อค ต้องทำอย่างไร ?
A: กรณีลืม Password หรือถูกระบบล็อค เนื่องจากกรอกผิดเกินจำนวนครั้งที่กำหนด กรุณาติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี โทร. 0 2285 1555 ธนาคารจะดำเนินการตามขั้นตอนการตรวจสอบและยืนยันบุคคล และแจ้ง Password ให้ทราบภายใน 7 วันทำการ หรือติดต่อสาขาธนาคารที่สะดวก
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบริการ UOB Personal Internet Banking (PIB)
Q: UOB Personal Internet Banking (PIB) คืออะไร สามารถทำธุรกรรมอะไรได้บ้าง ?
A: UOB Personal Internet Banking (PIB) คือ บริการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้บริการสามารถทำธุรกรรมทางการเงิน อาทิ รายการโอนเงิน ทั้งภายในธนาคารยูโอบีและต่างธนาคาร รายการชำระค่าสินค้าและบริการ รายการธนาณัติออนไลน์ (บริการโอนเงินไปยังที่ทำการไปรษณีย์ที่ต้องการ เพียงระบุข้อมูลผู้รับปลายทาง เมื่อทำรายการเรียบร้อย คุณสามารถแจ้งผู้รับติดต่อรับเงินได้ทันที) รายการสอบถามยอดเงินในบัญชียูโอบีของตนเอง ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยสามารถใช้บริการได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
Q: ระบบที่รองรับการใช้บริการ PIB มีอะไรบ้าง (Hardware และ Software) ?
A:
คอมพิวเตอร์ PC
- ระบบปฏิบัติการ: Windows XP, Windows 7, Windows 8
- Web Browser*: Internet Explorer 6.0/7.0/8.0/9.0/10.0, Fire fox 19, Google Chrome 25
คอมพิวเตอร์ Mac
- ระบบปฏิบัติการ: Mac (Lion), Mac (Mountain Lion)
- Web Browser*: Safari 5.1, Safari 6, Mozilla Firefox 19, Google Chrome 25
iPhone & iPad*
- iPhone 4 Safari browser บน iOS 4.1 ขึ้นไป
- iPad Safari browser บน iOS 6.0 ขึ้นไป
*เป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเบราว์เซอร์บนมือถือเท่านั้น ไม่ใช่การใช้งาน Application บนมือถือ
Q: UOB Personal Internet Banking ใช้ที่ต่างประเทศได้หรือไม่ ?
A: คุณสามารถใช้บริการ PIB ได้จากทั่วทุกมุมโลก โดยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และรับ OTP จาก SecurePlus token โดยคุณไม่จำเป็นต้องเปิดโรมมิ่งแต่อย่างใด
Q: UOB Personal Internet Banking มีระบบการรักษาความปลอดภัยอย่างไร ?
A: คุณมั่นใจและปลอดภัยกับระบบรักษาความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยี ที่ได้รับการยอมรับในระดับมาตรฐานสากล ที่ประกอบด้วย การเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) ด้วย Secured Socket Layer (SSL) 128 bits การวางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และไฟล์วอร์ (Firewall) และอีกขั้นด้วยระบบรักษาความปลอดภัย 2 ด้วยรหัสแบบใช้งานครั้งเดียว (One Time Password หรือ OTP)
Q: ล้างข้อมูลหลังจากการทำรายการเสร็จได้อย่างไร ?
A: คุณควรล้างความจำของ Internet Browser เพื่อความมั่นใจว่าการทำรายการธุรกรรมจะไม่ถูกบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้
Internet Explorer
- เลือก "Tools" > "Internet Option" > "General"
- เลือก "Browsing History" และคลิก "Delete"
- เลือก "Temporary Internet Files" และคลิก "Delete Files"
- คลิก "OK" และคลิก "OK" อีกครั้งเพื่อปิดหน้าต่าง
Mozilla Firefox
- เลือก "Tools" > "Clear Private Data"
- คลิก "Cache" และเลือก "Clear Private Data Now"
Safari
- เปิดเบราว์เซอร์ แล้วคลิก "Empty Cache"
- เลือก "Empty" ในหน้าต่างๆ นั้นเพื่อลบ Cache
Google Chrome
- เลือก "Tools" > "Clear browsing Data"
- คลิก "Clear browsing data"
รหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว (One Time Password หรือ OTP)
Q: รหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว (One Time Password หรือ OTP) คืออะไร ?
A: OTP คือ รหัสผ่านที่ใช้เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้กับการทำธุรกรรมผ่านระบบ PIB ซึ่ง OTP จะใช้ ทำรายการธุรกรรมได้เพียงครั้งต่อครั้ง ภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น
Q: รับ OTP จากช่องทางใดบ้าง ?
A:
- ทางโทรศัพท์มือถือ (SMS-OTP)
ธนาคารจะดำเนินการลงทะเบียนหมายเลขโทรศัพท์มือถือตามที่ระบุไว้ในการสมัคร PIB (เฉพาะหมายเลขที่จดทะเบียนในประเทศไทยเท่านั้น) และในขั้นตอนของการรับ SMS-OTP ทางธนาคารจะทำการส่ง SMS ไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนไว้
- ทางอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token-OTP)
กรณีลูกค้าเดินทางไปต่างประเทศ หรือไม่สะดวกรับ SMS-OTP ผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือ สามารถขอใช้อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token) ซึ่งสามารถแสดง OTP ได้ทันทีที่กดปุ่ม
Q: ในกรณีใดที่ต้องใช้ OTP เพื่อทำรายการ ?
A:
- เมื่อมีการทำรายการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลลูกค้า หรือเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านทางระบบ PIB
- เมื่อลูกค้าต้องการเข้าใช้บริการแบบเต็มรูปแบบเพื่อทำธุรกรรมต่างๆ อาทิ การเพิ่มบัญชีปลายทางเพื่อรับโอนเงิน การเพิ่มบัญชีผู้รับโอนธนาณัติออนไลน์ การเพิ่มบัญชีปลายทางเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ
Q: หากต้องการเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์เพื่อรับ SMS-OTP ต้องทำอย่างไร ?
A: คุณสามารถติดต่อสาขาธนาคารยูโอบีที่สะดวก เพื่อดำเนินการแจ้งเปลี่ยนแปลงหมายเลขโทรศัพท์เพื่อรับ SMS-OTP
Q: มีค่าใช้จ่ายสำหรับการรับ SMS-OTP หรือไม่ ?
A: ไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับการรับ SMS-OTP
Q: มีค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเครื่อง SecurePlus token หรือไม่ ?
A: ค่าธรรมเนียมในการขอรับ SecurePlus token จำนวน 300 บาท/เครื่อง
เกี่ยวกับอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token-OTP)
Q: อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token) คืออะไร ?
A: SecurePlus token คือ อุปกรณ์เสริมที่จะช่วยยกระดับความปลอดภัย โดยการสร้างรหัสผ่านสำหรับใช้ครั้งเดียว (OTP) ที่จะต้องใช้ควบคู่กับ USER ID และ Password ในการเข้าระบบ เพื่อทำธุรกรรมผ่าน PIB
Q: หากต้องการขอใช้อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token) ต้องทำอย่างไร และมีค่าธรรมเนียมหรือไม่ ?
A: กรุณาติดต่อสาขาที่คุณสะดวก เพื่อกรอกแบบฟอร์ม โดยมีค่าธรรมเนียมในการขอรับ SecurePlus token จำนวน 300 บาท/เครื่อง
Q: อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token) ใช้อย่างไร ?
A: เพียงกดปุ่มสีแดงที่มุมขวาล่างของ SecurePlus token ค้างไว้ รหัสตัวเลข 6 ตัว จะแสดงบนหน้าจอ ลูกค้าสามารถนำรหัสนี้ไปกรอกในหน้าจอ PIB เพื่อทำธุรกรรมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวผ่านระบบ PIB ได้
Q: หากอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย (SecurePlus token) สูญหายต้องทำอย่างไร ?
A: กรุณาแจ้งศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี โทร. 0 2285 1555 ทันทีที่ทราบ หากต้องการขอ SecurePlus token เครื่องใหม่เพื่อทดแทนเครื่องเดิมที่สูญหาย กรุณาติดต่อสาขาของธนาคารที่สะดวก เพื่อกรอกแบบฟอร์มขอรับ SecurePlus token เครื่องใหม่ โดยมีค่าธรรมเนียมในการขอรับ SecurePlus token จำนวน 300 บาท/เครื่อง
ข้อมูลบริการทางบัญชีบนระบบ UOB Personal Internet Banking
Q: บัญชีประเภทใดที่สามารถใช้ในระบบ PIB ได้ ?
A: บัญชียูโอบีทุกประเภท ยกเว้น
- บัญชี "ร่วม/และ" (Joint/and)
- บัญชี "ร่วม/หรือ" (Joint-Or) ที่มีเงื่อนไขการสั่งจ่ายพิเศษ (Signing Condition)
- บัญชีเงินกู้ที่มีสถานะค้างชำระเกิน 90 วัน
Q: สามารถตรวจสอบความถูกต้องของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน PIB ได้หรือไม่ ?
A: ลูกค้าสามารถตรวจสอบความถูกต้องของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน PIB ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ?
Q: เพิ่มบัญชีผู้รับเงินได้กี่บัญชี ?
A: ลูกค้าสามารถเพิ่มเพิ่มบัญชีผู้รับเงินในระบบ PIB รวมกันได้สูงสุด 30 บัญชี
Q: ดูข้อมูลประวัติการทำรายการย้อนหลังอย่างไร ?
A: ลูกค้าสามารถเรียกดูข้อมูลการทำธุรกรรมย้อนหลังได้สูงสุด 90 วัน โดยเลือกเมนูประวัติการทำรายการ
Q: บัญชีร่วมประเภท "หรือ" และบัญชีร่วมประเภท "เพื่อ,โดย" จะแสดงในระบบ PIB หรือไม่ ?
A: เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่มีบัญชีร่วมประเภท "หรือ" และบัญชีร่วมประเภท "เพื่อ,โดย" ธนาคารได้แสดงข้อมูลบัญชีประเภทดังกล่าวของคุณบนระบบ PIB โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการแสดงบัญชีดังกล่าวได้ด้วยตนเองผ่านระบบ PIB ตลอด 24 ชั่วโมง
Q: หากไม่ต้องการให้บัญชีร่วมประเภท "หรือ" และบัญชีร่วมประเภท "เพื่อ,โดย" แสดงในระบบ PIB ต้องทำอย่างไร ?
A: คุณสามารถทำรายการเพิ่ม/ลดบัญชีดังกล่าวหรือบัญชีอื่นๆ ที่คุณไม่ต้องการให้แสดงบนหน้าจอของระบบ PIB ได้ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีผลเฉพาะบนหน้าจอการทำรายการของคุณเท่านั้น ไม่มีผลต่อหน้าจอของผู้ถือบัญชีร่วม
Q: การเพิ่ม/ลดบัญชีที่ต้องการให้แสดงหรือไม่แสดงในระบบ PIB จะมีผลทันทีหลังจากทำรายการเลยหรือไม่ ?
A: มีผลทันทีที่ลูกค้าทำรายการสำเร็จ
การเปลี่ยนแปลงวงเงินในการทำธุรกรรมผ่านบริการ PIB
Q: การเปลี่ยนแปลงวงเงิน คืออะไร ?
A: เป็นการปรับเพิ่มหรือลดวงเงิน ในการทำธุรกรรมต่อวัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงวงเงินดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่ที่คุณทำรายการสำเร็จ ไปจนกว่าคุณจะทำการเปลี่ยนแปลงวงเงินในครั้งต่อไป
Q: สามารถเพิ่มวงเงินในการทำธุรกรรมสูงกว่าวงเงินปกติที่ธนาคารกำหนดได้หรือไม่ ?
A: สามารถทำได้ โดยเลือกวงเงินที่ต้องการเพิ่มได้ตามจำนวนที่ธนาคารกำหนดแต่ละรายการ และยืนยันการทำรายการโดยใส่รหัส OTP ที่ได้จาก SMS หรือ SecurePlus token ?
Q: ลดวงเงินในการทำธุรกรรมต่อวัน ต้องทำอย่างไร ?
A: ลูกค้าเลือกลดวงเงินที่ต้องการได้ตามจำนวนที่ธนาคารกำหนด โดยไม่ต้องใส่ OTP ที่เมนูการเปลี่ยนวงเงิน
บริการโอนเงิน ผ่าน UOB Personal Internet Banking
Q: จำนวนเงินโอนเงินต่างธนาคาร สูงสุดเท่าไหร่ ?
A: สามารถโอนเงินต่างธนาคารได้ไม่เกิน 50,000 บาท/รายการ หรือสูงสุด 100,000 บาท/วัน และสามารถปรับเพิ่มวงเงินการโอนได้สูงสุด 500,000 บาท/วัน โดยลูกค้าต้องใช้รหัส OTP ที่ได้จาก SMS หรือ SecurePlus token
Q: สามารถโอนเงินไปยังบัญชีปลายทางได้สูงสุดกี่บัญชีในครั้งเดียว ?
A: คุณสามารถโอนเงินไปยังบัญชีปลายทางได้สูงสุด 5 บัญชี โดยการกรอกรหัส OTP เพียงครั้งเดียว
Q: ตั้งโอนเงินแบบซ้ำอัตโนมัติ คืออะไร ?
A: การตั้งรายการโอนเงินเป็นประจำ โดยลูกค้าสามารถเลือกวันที่เริ่มทำรายการ ความถี่ในการโอน (ทุกเดือน, ทุกๆ 3 เดือน, ทุกๆ 6 เดือน หรือทุกปี) และวันสิ้นสุดในการทำรายการได้ โดยระบบจะทำการโอนเงินตามรายการที่ตั้งไว้ในวันที่ลูกค้าระบุโดยอัตโนมัติ
Q: โอนเงินแบบกำหนดเวลาล่วงหน้า คืออะไร ?
A: การตั้งวันที่ที่ต้องการทำรายการโอนเงินล่วงหน้า โดยระบบจะทำการโอนเงินตามรายการที่ตั้งไว้ในวันที่ลูกค้าระบุโดยอัตโนมัติ ซึ่งลูกค้าสามารถตั้งรายการโอนเงินล่วงหน้าได้ 1 รายการ/ครั้ง
Q: บริการการโอนเงินระหว่างประเทศต้องทำอย่างไร และใช้เวลาในการดำเนินการกี่วัน ?
A: คุณสามารถเลือกเมนู โอนเงินระหว่างประเทศ เพื่อทำการโอนเงิน ในกรณีโอนเงินไปต่างธนาคารในต่างประเทศ เงินจะเข้าบัญชีของผู้รับเงินปลายทางไม่เกิน 2 วันทำการ หลังจากวันที่คุณได้ทำการโอนสำเร็จ
บริการชำระค่าสินค้าและบริการ ผ่าน UOB Personal Internet Banking
Q: สามารถชำระภาษีกรมสรรพากรผ่าน PIB ได้หรือไม่ อย่างไร ?
A: ลูกค้าสามารถชำระภาษี โดยเลือกเมนู "บริการชำระค่าสินค้าและบริการ" ซึ่งคุณสามารถทำรายการโดยขั้นตอนดังนี้
- เลือก ประเภทผู้รับชำระเงิน เป็น "องค์กรของรัฐ"
- เลือก ผู้รับชำระเงิน เป็น "REVENUE DEPARTMENT"
- กรอกข้อมูลเลขประจำตัวผู้เสียภาษีตามใบแจ้งชำระภาษี ดังนี้ TAX ID./รหัสลูกค้า, REFERENCE NO./CONTROL CODE และชื่อลูกค้า
Q: หากต้องการใบเสร็จการชำระเงิน ต้องทำอย่างไร ?
A: ลูกค้าสามารถสั่งพิมพ์หน้าจอยืนยันการทำรายการสำเร็จได้ทันที หรือ เลือกเมนู "ข้อมูลบัญชี" และเลือก "สถานะการทำรายการ" โดยจะสามารถเลือกดูสถานะการทำรายการ ย้อนหลังได้สูงสุด 90 วัน
Q: ขอความช่วยเหลือการใช้บริการ UOB Personal Internet Banking ?
A: ติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธนาคารยูโอบี โทร. 0 2285 1555 กด 04 หรืออีเมล์ DigitalBank@uob.co.th