ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิคส์ “พร้อมเพย์”
ประเทศไทยได้เร่งเครื่องระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิคส์ หรือ “พร้อมเพย์” มากขึ้น เนื่องจากการหยุดชะงักในภาคต่างๆ ของสังคมในปัจจุบัน การอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมไร้เงินสด และการทำธุรกรรมแบบไร้การสัมผัส ทำให้ปฏิสัมพันธ์ทางการเงินลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม
“ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 พร้อมเพย์ได้ทำให้ธุรกิจออนไลน์คึกคักและช่วยให้ธุรกรรมส่วนบุคคลนั้นเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย” ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวต่ออีกว่า “จำนวนผู้ใช้บัญชีพร้อมเพย์ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทะลุกว่า 56 ล้านคน นอกจากนั้นแล้ว หน่วยงานภาครัฐต่างๆ ยังใช้แพลตฟอร์มนี้ในการโอนเงินเพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤต”
ในเดือนพฤษภาคม 2564 มีจำนวนการทำธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์มพร้อมเพย์เฉลี่ยกว่า 23 ล้านครั้งต่อวัน เพิ่มจาก 13 ล้านครั้งต่อวัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 จากข้อมูลสถิติของธนาคารกลาง ระบุว่ามีการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นถึง 28 ล้านครั้งต่อวันในเดือนตุลาคม 25645
ในเดือนเมษายน 2564 พร้อมเพย์ และ สิงคโปร์เพย์นาว ระบบชำระเงินแบบเรียลไทม์ ได้ประกาศเกี่ยวกับการประสานความร่วมมือซึ่งสามารถทำธุรกรรมการโอนเงินข้ามประเทศได้ โดยดำเนินการอยู่ในระดับการทำธุรกรรมเดียวกัน (ธนาคารยูโอบี คือ 1 ใน 3 ของผู้บุกเบิกธนาคารในสิงคโปร์ที่ได้ร่วมในแพลตฟอร์มนี้)
อย่างไรก็ตามพร้อมเพย์ ได้เปิดให้เข้าถึงเฉพาะธนาคารที่มีการจัดตั้งขึ้นอยู่แล้ว หรือ ธนาคารที่เป็นเครือข่ายเท่านั้น ในขณะที่บริการจากระบบพร้อมเพย์ได้เปิดให้ใช้ได้ทั้งกับธนาคารและภาคส่วนที่ไม่ใช่ธนาคาร โฆษกแบงก์ชาติได้ระบุว่า “การที่จะสามารถเข้าร่วมกับแพลตฟอร์มพร้อมเพย์ได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติที่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง ปฏิบัติตามข้อกำหนดและความปลอดภัยขั้นสูง” ภาคส่วนที่ไม่ใช่ธนาคารหรือฟินเทคอาจเป็นพันธมิตรกับธนาคารเพื่อใช้บริการได้